1.แผนที่ตำบล
2. ประวัติความเป็นมาของตำบล
ตำบลมูโนะ
เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอสุไหงโกลก ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ระยะทาง 8 กิโลเมตรเมื่อประมาณ 100 ปีเศษ
ที่บ้านมูโนะเป็นท่าเรือ ซึ่งราษฎรสัญจรไปมาทางแม่น้ำสุไหงโกลก และแวะหยุดพักอาศัย
และต่อมาราษฎรได้มาอาศัยบริเวณท่าเรือและตั้งชื่อว่า บ้านมูโนะ ซึ่งคำว่า มูโนะ
เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า
"กาแจมูโนะ"เป็นลักษณะไม้ยืนต้น เปลือกสีดำ
ใบคล้ายใบเถาวัลย์ดอกเป็นฟองสีขาว ผลกลม สีเหลือง รสหวาน
3.
พื้นที่ทั้งหมดไร่ หรือ 20.48
ตารางกิโลเมตร
4.
อาณาเขต
ขนาดเนื้อที่ประมาณ ๑,๘๘๕ ไร่
คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๙๒ ของพื้นที่ทั้งหมด ๑๓,๕๓๘
ไร่ ของตำบลมูโนะ
ตำบลตั้งอยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ห่างจากอำเภอสุไหงโก-ลก
ไปทางทิศเหนือ 13 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศใต้ 52 กิโลเมตรมีอาณาเขตติดต่อ
ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ ตำบลปูโยะและอำเภอตากใบ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลปาเสมัสและประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ
ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ ตำบลปูโยะและตำบลปาเสมัส
5.
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปของตำบลมูโนะ เป็นที่ราบเชิงเขาลาดเอียง
ลักษณะของตำบล จะเป็นตำบลที่มีขนาดเล็ก โครงสร้างไม่ซับซ้อน
พื้นที่ชุมชนอยู่กันไม่หนาแน่น กระจายตามสัดส่วนทุกหมู่บ้าน
ลักษณะภูมิอากาศมี
๒ ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน และฤดูฝน
ลักษณะของดินการใช้ทรัพยากรดินในเขตตำบลมูโนะ
ส่วนใหญ่จะใช้เป็นที่อยู่อาศัย และทำการเกษตร
ลักษณะของแหล่งน้ำพื้นที่ในตำบลมูโนะ
จะมีแม่น้ำไหลผ่านหนึ่งสาย คือ แม่น้ำสุไหงโก-ลก
และคลองที่ขุดลอกใหม่ได้แก่คลองชลประทาน
ลักษณะของไม้และป่าไม้ในพื้นที่มีพื้นที่บางส่วนติดกับป่าพรุโต๊ะแดง
6. จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 9,888
คน แยกเป็น ชาย 4,796 คน หญิง 5,092 คน
6.1
ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ) รวมทั้งสิ้น 565 คน แยกเป็น
ชาย
269 คน หญิง 296 คน (รายชื่อแนบท้ายภาคผนวก)
6.2 คนพิการ รวมทั้งสิ้น 187 คน แยกเป็น ชาย 87 คน
หญิง 100 คน (รายชื่อแนบท้ายภาคผนวก)
7. จำนวนครัวเรือน 1,927 ครัวเรือน
(ตามทะเบียน/ตามข้อมูลการจัดเก็บ จปฐ )
8. การประกอบอาชีพ
8. ๑
อาชีพหลักของครัวเรือน
8.๑.๑
อาชีพ รับจ้างทั่วไป จำนวน 517 ครัวเรือน
8.๑.๒
อาชีพเกษตร ทำสวน จำนวน 554 ครัวเรือน
8.๑.๔
อาชีพ ค้าขาย จำนวน 347 ครัวเรือน
8.๑.5
อาชีพ รับราชการ จำนวน 211 ครัวเรือน
8.๑.6 อาชีพกรีดยาง จำนวน
129 ครัวเรือน
8.๑ 7 อาชีพประมง จำนวน
55 ครัวเรือน
8.๑.8 อาชีพ
พนักงานบริษัท จำนวน 92 ครัวเรือน
8. ๒
อาชีพเสริมหรืออาชีพรอง
8.2.1 อาชีพกลุ่มอาชีพการทำกรงนก จำนวนสมาชิก ๑๐ ครัวเรือน
8.2.2 อาชีพกลุ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในหมู่บ้าน จำนวนสมาชิก 160 ครัวเรือน
8.2.3 อาชีพกลุ่มอาชีพปักจักร
และตัดเย็บเสื้อผ้า จำนวนสมาชิก 121 ครัวเรือน
8.2.4 อาชีพกลุ่มอาชีพมะพร้าวคั่วของผู้สูงอายุ จำนวนสมาชิก ๑๐ ครัวเรือน
8.2.5 อาชีพกลุ่มอาชีพการทำนา จำนวนสมาชิก ๑๐ ครัวเรือน
8.2.6 กลุ่มจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ๒๐ ครัวเรือน
8.2.8 กลุ่มอาชีพการทำขนม จำนวนสมาชิก 9๐ ครัวเรือน
8.2.9 รับจ้างทั่วไป จำนวนสมาชิก ๑๗๕ ครัวเรือน
๘.๒.10 อาชีพเลี้ยงสัตว์ จำนวนสมาชิก 102
ครัวเรือน
9. ผู้ว่างงานจำนวน 269 คนแยกเป็น
9.๑
กลุ่มอายุ ๑๓ -๑๔ ปี จำนวน 88 คน
9.๒
กลุ่มอายุ ๑๙-๒๕ ปี จำนวน 102 คน
๙.๓
กลุ่มอายุ ๒๕ ปีขึ้นไป จำนวน 79 คน
๑๐.
ตำบลมีรายได้ 43,683,448 บาท/ปีรายจ่าย 56,292,653 บาท/ปี
มีหนี้สิน 56,229,653 บาท / ปี
๑๑. รายได้เฉลี่ยของประชากร
(ตามเกณฑ์จปฐ. ปี) จำนวน 58,762.84 บาท/คน/ปี
ครัวเรือนยากจน (รายได้ไม่ถึง ๓๘, 000 บาทคน/ปี) ปี 2562
จำนวน 19 ครัวเรือน
๑๒. จำนวนกลุ่มกิจกรรม/อาชีพมีจำนวน 12 กลุ่มดังนี้
(ควรระบุรายละเอียดอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน)
๑๒.๑ ตัดเย็บเสื้อผ้า หมู่ที่1,2,4,5 จำนวนสมาชิก 90 คน
๑๒.2 ทำขนม หมู่ที่1,4 จำนวนสมาชิก 5๐ คน
12.3 ชมรม TO BE
NUMBER ONE ทุกหมู่บ้าน จำนวนสมาชิก 100 คน
12.4
กลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่2,5 จำนวนสมาชิก 55 คน
12.5 กลุ่มสตรี หมู่ที่
2,5 จำนวนสมาชิก 40 คน
12.6 กลุ่มปลูกผักสวนครัว หมู่ที่ 3,4 จำนวนสมาชิก 65 คน
12.7
กลุ่ม อสม. ทุกหมู่บ้าน จำนวนสมาชิก 98 คน
12.8 กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี หมู่ที่ 1,3,5 จำนวนสมาชิก 133 คน
12.9 กลุ่มอาชีพการทำกรงนก หมู่ที 1 จำนวนสมาชิก ๒๐ คน
12.10 กลุ่มอาชีพมะพร้าวคั่วของผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 จำนวนสมาชิก ๒๐ คน
12.11 กลุ่มอาชีพการทำนา หมู่ที่ 1 จำนวนสมาชิก ๑๐
คน
12.12 กลุ่มจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนา หมู่ที่
1 จำนวนสมาชิก ๒๐ คน
ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
๑๓. กองทุนในตำบลมีจำนวน 5 กองทุนดังนี้
13.1กองทุนหมู่บ้าน มีงบประมาณ
5,๐๐๐,๐๐๐ บาท
13.2 กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี มีงบประมาณ ๔,๒๐๐,๐๐๐ บาท
13.3 กองทุนแม่ของแผ่นดิน มีงบประมาณ 40,๐๐๐ บาท
๑๓.4 กองทุน โครงการเพิ่มความเข้มแข็ง มีงบประมาณ 2,500,000 บาท
ของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ
13.5 ออมทรัพย์เพื่อการแปรรูป มีงบประมาณ 21,๐๐๐ บาท
๑๔. ข้อมูลความต้องการพัฒนาฝีมือแรงงานของประชาชน
14.1 การทำขนม จำนวนสมาชิก 120 คน
14.2 ปักจักร
และตัดเย็บเสื้อผ้า จำนวนสมาชิก 110 คน
14.3 การทำกรงนก จำนวนสมาชิก ๒๐ คน
15
ข้อมูลคมนาคม/สาธารณูปโภค
15.1 การเดินทางเข้าตำบล
มีถนนลาดยาง ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ถนนหินคลุก และถนนลูกรัง
หมู่ที่ |
จำนวน |
ถนนลาดยาง |
ถนนคอนกรีต |
ถนนหินคลุก |
ถนนลูกรัง |
1 |
1๑ |
๒ |
๘ |
๑ |
- |
2 |
๘ |
1 |
๔ |
๓ |
- |
3 |
๑๑ |
๑ |
๖ |
๓ |
1 |
4 |
๑๑ |
- |
๖ |
๓ |
2 |
5 |
1๑ |
- |
๘ |
๓ |
- |
รวม |
๕๒ |
4 |
32 |
13 |
3 |
ถนนเชื่อมระหว่าง |
3 |
2 |
- |
1 |
|
ถนนในการรับผิดชอบ |
2 |
- |
- |
- |
15.2 สาธารณูปโภค
การไฟฟ้า
มีระบบไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน
การประปา
มีระบบประปาบาหมู่บ้าน
จำนวน 1 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านมูโนะ
โทรศัพท์
ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
ไปรษณีย์หรือกำรสื่อสำรหรือกำรขนส่ง
และวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด
ได้แก่ ไปรษณีย์อำเภอสุไหงโก-ลก ห่างจากตำบลมูโนะไปทาง
ทิศใต้ประมาณ 13 กิโลเมตร
15.3
แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำการเกษตร
แหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่
แม่น้ำสุไหงโก-ลก และมีคลองชลประทานมูโนะผ่านหมู่ที่ ๑-๓
แหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค
บริโภค)
ใช้น้ำบ่อโดยส่วนใหญ่
และบางครัวเรือนซื้อน้ำเพื่อการบริโภค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น